วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วันพุธ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิถีชีวิตของชาวบ้านตะเคียนดำ อำเภอท่าศาลา
ประวัติความเป็นมา
            บ้านท่าศาลา คือ ชื่อหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมคลองท่าศาลา ซึ่งเป็นคลองเล็ก ๆ แยกจากคลองท่าสูง เป็นท่าจอดเรือสินค้าจากต่างเมือง และมีศาลาพักร้อนปลูกอยู่ที่ท่าจอดเรือ
       “ ท่าศาลา จึงชื่อหมู่บ้านตามนัยนี้ และเมื่อย้ายที่ตั้งจากวัดเตาหม้อมาตั้งที่หมู่บ้านนี้จึงเปลี่ยนเป็นชื่ออำเภอเป็นอำเภอท่าศาลา ไปตามหมู่บ้าน
       ปัจจุบันมีศาลาซึ่งเป็นพื้นคอนกรีต มุงกระเบื้อง เป็นศาลาถาวรตั้งอยู่ริมคลองท่าศาลา บริเวณท่าจอดเรือสมัยก่อนอยู่หลังหนึ่ง เรียกว่า ศาลาน้ำ ” (ศาลาดังกล่าวได้รับการปรับปรุงโดยสุขาภิบาลท่าศาลา)
       คำว่า ท่าศาลา นั้นเป็นคำที่ออกเสียงตามภาษากลางซึ่งเป็นภาษาราชการ แต่ภาษาใต้ซึ่งเป็นภาษาพูดของคนนครฯ โดยทั่วไปนั้น คงเรียกว่า ท่าหลา นั่นเอง
ที่ตั้งและอาณาเขต
            ท่าศาลา  เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอท่าศาลา พื้นที่ทั้งหมดตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลมีความยาวไปตามแนวชายฝั่งจากเหนือจรดใต้ ประมาณ 12 กิโลเมตร เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการอำเภอท่าศาลา
       มีอาณาเขตติดต่อดังต่อไปนี้
             ทิศเหนือ จรดตำบลท่าขึ้น
             ทิศใต้ จรดตำบลปากพูน
             ทิศตะวันออก จรดทะเลอ่าวไทย
             ทิศตะวันตก จรดตำบลไทยบุรี - โพธิ์ทอง  
มีหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น 2 รูปแบบ คือ
1. เทศบาลตำบลท่าศาลา มีพื้นที่ในหมู่ที่ 1 เป็นส่วนใหญ่ ประมาณ 1 ตร.กม.                                                                                                                            2. องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา มีหมู่บ้านในความรับผิดชอบ 15 หมู่บ้าน (หมู่ที่ 1 บางส่วน)

       องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ริมถนนท่าศาลานบพิตำ ตั้งอยู่ห่างจาก ที่ว่าการอำเภอท่าศาลา ประมาณ 500 เมตร
       องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา ได้รับการประกาศจัดตั้งของกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2538 (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 111 ตอนที่ 53 ก. ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2537) เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแรกของอำเภอท่าศาลา
เนื้อที่       มีเนื้อที่โดยประมาณ 16 , 775 ไร่ (26.84 ตารางกิโลเมตร)
ลักษณะภูมิประเทศ
       สภาพพื้นที่เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลเป็นหาดทรายสลับกับป่าชายเลน มีความยาวไปตาม
แนวชายฝั่งทะเลจากเหนือจรดใต้ ตั้งแต่หมู่ที่ 10 หมู่ที่ 4 ,5 ,6 ,9  และมีลักษณะเป็นดินเลนทับถม
ในหมู่ที่ 7 , 14 และหมู่ที่ 8 ส่วนทางทิศตะวันตกมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนาในพื้นที่หมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 3

จำนวนหมู่บ้าน
 มี 15 หมู่บ้าน (แสดงจำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล)
 - จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเต็มทั้งหมู่บ้าน 14 หมู่ ได้แก่  หมู่ที่ 2 – 15
 - จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางส่วน 1 หมู่ ได้แก่ หมู่ที่ 1
ประชากร
ประชากรทั้งสิ้น 28 , 700 คน แยกเป็น
- ชาย 14 , 272 คน
- หญิง 14 , 428 คน
มีความหนาแน่นเฉลี่ย 1,002 คน/ตารางกิโลเมตร
ประวัติหมู่บ้านตะเคียนดำ
            ประมาณเมื่อ 100 ปี มีเรือสำเภามาจากประเทศจีนเพื่อค้าขาย เนื่องจากชาวจีนทราบว่าพื้นที่ทางใต้ฝั่งตะวันออกส่วนนี้ของประเทศไทยมีไม้ตะเคียนมาก ชาวจีนจึงขอซื้อซึ่งชาวบ้านไม่ทราบเป็นที่แน่ชัดว่าได้ซื้อขายผ่านรัฐบาลหรือไม่ หรือผ่านชาวบ้าน เรือจึงมาจอดเทียบท่า ณ ที่นี้ ในสมัยนั้น จะมีคำว่า ท่าขึ้นซึ่งแปลว่า ท่าเรือสำหรับเรือสำเภาจอดโดยชาวจีนนำเรือมาจอดอยู่หลายเดือนเพื่อโค่นต้นตะเคียนโดยกล่าวกันว่าต้นตะเคียนนี้ต้องใช้ 7-8 คนโอบ
อาชีพหลัก   ประมง แกะปู  ทำปลาแห้ง
พื้นที่ จากทิศเหนือจรดทิศใต้ 2 กิโลเมตร
ปัญหา จะมีการทำโรงไฟฟ้าถ่านหิน ซึ่งจะทำให้ชาวบ้านตะเคียนดำเดือดร้อนในการทำประมง      และน้ำเสีย
ลักษณะทางเศรษฐกิจ
            สภาพเศรษฐกิจโดยทั่วไปของอำเภอท่าศาลา ขึ้นอยู่กับการผลิตภาคเกษตรกรรม การประกอบอาชีพของประชาชน ร้อยละ 57 ทำสวน พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ยางพารา ผลไม้ ( ทุเรียน  มังคุด เงาะ ลองกอง มะพร้าว ) ร้อยละ 25 ทำนา ร้อยละ 7 ทำการประมงชายฝั่งและเลี้ยงสัตว์น้ำ เนื่องจากมีพื้นที่ติดทะเลอ่าวไทย ได้แก่ บริเวณตำบลท่าศาลา ท่าขึ้น สระแก้ว และกลาย ร้อยละ 5 ทำการปศุสัตว์ ร้อยละ 3 ประกอบอาชีพด้านอุตสาหกรรม และการพาณิชย์ ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลาง และเล็ก เช่น โรงแยกแร่ โรงเลื่อยแปรรูปไม้ยางพารา โรงน้ำแข็ง อู่ต่อเรือ โรงค้าไม้ โรงงานคอนกรีตเสริมเสร็จ นอกจากนี้ประกอบอาชีพอื่นๆอีก    ร้อยละ 3
เหตุการณ์ร้ายแรง
- วาตภัยที่แหลมตะลุมพุก เมื่อวันที่ 25-26 ตุลาคม พ.ศ.2505 ได้เกิดมหาวาตภัยขึ้นในภาคใต้ของประเทศไทย โดยที่ แหลมตะลุมพุก อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการสูญเสียอย่างหนักกว่าที่ใด คลื่นใหญ่มหึมาม้วนตัวจากทะเลขึ้นบนบกกวาดสรรพสิ่งที่กีดขวาง ไม่ว่าจะเป็นเรือแพที่จอดอยู่หรือบ้านเรือนริมทะเล ต้นไม้ ชีวิตคน สัตว์เลี้ยง ล้วนถูกคลื่นยักษ์ม้วนหายลงไปในทะเลโดยไม่มีโอกาสได้รู้ตัวล่วงหน้า ที่อยู่ห่างชายฝั่งลึกเข้าไปในแผ่นดินก็ถูกพายุโถมกระหน่ำโครมเดียวปลิวว่อนบาดเจ็บล้มตายนับไม่ถ้วน คลื่นยักษ์กวาดบ้านเรือนและราษฎรลงไปในทะเลเกือบทั้งตำบล เรียกว่าวาตภัยในครั้งนี้มีความร้ายแรงที่สุดในรอบศตวรรษเลยทีเดียว ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีอายุ 70-80 ปี บอกว่าเกิดมาก็เพิ่งเคยเห็นความร้ายแรงของธรรมชาติ และเคยเห็นความเสียหายอย่างมากครั้งนี้เอง จังหวัดนครศรีธรรมราชอยู่ในสภาพเหมือนถูกปล่อยเกาะ เส้นทางที่จะติดต่อกับจังหวัดอื่นถูกทำลายพินาศหมด ทั่วทุกหัวระแหงในจังหวัดอยู่ในสภาพขาดแคลนทั้งเสื้อผ้า ที่อยู่อาศัย อาหาร ยารักษาโรค ไฟฟ้าในจังหวัดก็ดับหมด9 จังหวัดในภาคใต้ ได้รับความเสียหายอย่างมาก สถานที่ราชการ อาคารบ้านเรือน โรงเรียน วัด ถูกพายุพัดพังระเนระนาด การไฟฟ้าและสถานีวิทยุตำรวจเสียหายหนักไม่สามารถติดต่อกันได้ เรือที่ออกทะเลเสียหายมากมาย ต้นยาง ต้นมะพร้าวและต้นไม้อื่นๆ ล้มพินาศมหาศาล สวนยางนับแสนๆ ต้นโค่นล้มขวางเป็นสิบๆ กิโลเมตร หลายร้อยคนหาทางออกไม่ได้ คนภายนอกจะเข้าไปช่วยเหลือก็ไม่ได้ การช่วยเหลือต้องส่งเครื่องบินไปทิ้งอาหารให้
            กองทัพเรือออกปฏิบัติการช่วยเหลือค้นหาเรือประมงในหลายจังหวัดทางภาคใต้ที่สูญหายไปเป็นจำนวนมาก และได้ค้นพบศพเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในทะเลและบนบก รองอธิบดีกรมตำรวจสั่งการไปยังหน่วยบิน และหน่วยปฏิบัติการใต้น้ำแห่งกองบังคับการตำรวจน้ำ ออกค้นหาแต่ต้องเผชิญกับอุปสรรคคลื่นลมพายุจนหมดความสามารถที่จะค้นหาผู้รอดชีวิตในทะเลได้
            การรถไฟแห่งประเทศไทยประกาศงดเดินขบวนรถด่วนสายใต้ เพราะภูเขาดินพังทลายทับรางระหว่างสถานีช่องเขากับสถานีร่อนพิบูลย์ ในทะเลศพเริ่มลอยเกลื่อนไม่เหลือผู้รอดชีวิตให้ช่วยเหลือจากเครื่องบินหรือเรือรบเลย และผู้ที่เหลือรอดเผชิญกับปัญหาความอดอยาก และพบซากเรือแตกทั่วท้องทะเล จังหวัดนครศรีธรรมราชเวลากลางคืนมืดทึบไปหมดทั้งเมืองเพราะไฟฟ้าใช้การไม่ได้
- น้ำท่วมภาคใต้เมื่อวันที่ 24 – 28 มีนาคม พ.ศ. 2554 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งต่อไปอีก 2-3 วัน จึงขอให้ประชาชนบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล ระวังอันตรายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 25-28 มีนาคม 2554   ส่วนคลื่นลมในอ่าวไทยสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
อนึ่ง คลื่นกระแสลมตะวันตกได้เคลื่อนเข้ามาปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทย ทำให้ภาคเหนือและภาคกลางด้านตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองกระจายกับลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะ 2-3 วันนี้
- ชาวบ้านตะเคียนดำนับพันคนรวมตัวคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน  เมื่อเย็นวันที่ 29 ตุลาคม 2553 มีการจัดเทวีเสวนาและลงนามคัดค้านการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่บ้านตะเคียนดำ ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการจัดงานครั้งนี้ แกนนำของชุมชนได้กล่าวว่า หมู่บ้านของเราเป็นหมู่บ้านประมงขนาดเล็ก ถ้าหากโรงไฟฟ้ามาตั้งที่นี่ ก็เท่ากับว่าทำลายที่ทำมาหากินของเราจนหมด แล้วเราจะอยู่กันอย่างไร  เรายืนยันว่าไม่ต้องการโรงไฟฟ้าถ่านหิน เพราะมันทำให้น้ำทะเลเสีย อากาศก็เป็นพิษ เรื่องนี้เรารู้ดี แม้พวกการไฟฟ้าจะบอกว่าถ่านหินที่ใช้ ไม่ใช่ชนิดที่มีความสกปรกเหมือนลิกไนท์ก็ตามนอกจากการร่วมลงชื่อคัดค้านที่มีผู้มาลงชื่อ 1,000 กว่ารายแล้ว ยังมีเวทีเสวนาให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องผลกระทบจากโรงไฟฟ้าถ่านหิน และนโยบายรัฐที่ไม่โปร่งใส ในด้านพลังงานอีกด้วย ผู้มาร่วมเสวนา อาทิ เช่น แกนนำกลุ่มต่อต้านท่อก๊าซไทย-มาเลย์ ยางสูไลด๊ะ โต๊ะหลี  จากอำเภอ จะนะ จังหวัดสงขลา นายธารา บัวคำศรี จากองค์กรกรีนพีซ ประเทศไทย อาจารย์ประสาท มีแต้ม นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ต่อสู้และนำเสนอเรื่องพลังงานทางเลือกแก่สังคมมานานนับสิบปี อาจารย์เลิศชาย ศิริชัย จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ลุ่มลึกด้านสภาพปัญหาสังคมภาคใต้ มาร่วมวิเคราะห์การเข้ามาของทุนนิยมโลกและความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ที่มีผลกระทบวิถีชีวิตชาวบ้านในปัจจุบัน รวมทั้งผู้นำทางสังคมในพื้นที่ เช่น นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น คือนายสมโชค แก้วแกม




แหล่งอ้างอิง
- หนังสือ ชุดท่าศาลาคดีศึกษา ด้วยรักและภูมิใจในแผ่นดิน ท่าศาลา 100 ปี พ.ศ. 2541 โดยอาจารย์บุญเสริม แก้วพรหม
- นายจงรักษ์ เพ็ญทอง
- นายโกมล  ทองอร่าม
- นางอุไร  แซ่บ้าว
- นางจำปี   แซ่บ้าว
- นางวิภาพร  ขันทอง